วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สตอเบอรี่มีทั้งหมดกี่พันธุ์และมีลักษณะอย่างไร


ในด้านพันธุ์ต่างๆ ของสตรอเบอรี่ที่มีปลูกกันในประเทศไทย ดร.ณรงค์ชัย เปิดเผยว่า ได้มีการนำพันธุ์สตรอเบอรี่จากต่างประเทศที่นำเข้ามาทดลองปลูกจากปี พ.ศ.2515 ปรากฏว่าพันธุ์พระราชทาน 13 (Cambridge Favorite) พันธุ์พระราชทาน 16 (Tioga) พันธุ์พระราชทาน 20 (Sequoia) สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายได้มากกว่าพันธุ์อื่นๆ โดยเฉพาะพันธุ์พระราชทาน 16 สามารถปรับตัวได้ดีทั้งพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูงระดับ 1,200 เมตร และพื้นที่ราบของทั้ง 2 จังหวัด เกษตรกรขณะนี้เกือบทั้งหมดใช้พันธุ์นี้ปลูกเป็นการค้ากันทั่วไป ต่อมา ปี 2529 ได้มีการนำพันธุ์ Nyoho Toyonoka และ Aibrry 
      จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาทดลองปลูก จนกระทั่งมีพันธุ์ Toyonoka หรือพันธุ์พระราชทาน 70 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2540 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา และพันธุ์ B 5 หรือพันธุ์พระราชทาน 50 (พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นปีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี) และพันธุ์พระราชทาน Tochiotome หรือ 72 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2542 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา ปัจจุบันพันธุ์สตรอเบอรี่ที่นับว่าปลูก เป็นการค้าส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ พันธุ์พระราชทาน 16, 50, 70 และ 72 นอกจากนี้ ยังมีสายพันธุ์อื่นบ้างในบางพื้นที่โดยผู้นำเข้ามาจากต่างประเทศ และไม่ได้ถือว่าเป็นพันธุ์พระราชทานแต่อย่างใด
      ม.จ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงเล่าประทานเพิ่มเติมว่าโครงการหลวงเริ่มทดลองหาพันธุ์สตรอเบอรี่ที่ปลอดโรคเพื่อส่งเสริมเกษตรกร โดยผลิตต้นแม่พันธุ์และต้นไหลปลอดโรคด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องทดลองทุกปีมีการคัดและผสมพันธุ์จนได้พันธุ์พระราชทานเบอร์ต่างๆ สำหรับแหล่งผลิตสตรอเบอรี่แหล่งใหญ่ที่บ้านบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มแรกเกษตรกรใช้พันธุ์ที่ผลิตต้นไหลเอง จึงไม่ปลอดโรคเกิดปัญหาเน่าตาย ผลผลิตตกต่ำ เกษตรกรจึงขอให้โครงการหลวงเข้าไปช่วยเหลือ และได้เริ่มใช้ต้นไหลปลอดโรคที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมทั้งจำหน่ายผลผลิตผ่านโครงการหลวง
      ปัจจุบันผู้ปลูกสตรอเบอรี่บนดอยสูงระดับ 1,000 เมตร อย่างเกษตรกร ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ส่วนหนึ่งได้หันมาใช้พันธุ์ปลอดโรคของโครงการหลวงที่เป็นพันธุ์ทางการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์พระราชทาน 50 และ 72 ซึ่งเป็นที่ยอมรับของตลาดในปัจจุบันทั้งเรื่องรสชาติ ขนาด และรูปทรง แต่บางส่วนยังคงใช้พันธุ์อื่นๆ รวมทั้งพันธุ์ 329 ซึ่งทางกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำไปส่งเสริม ซึ่งมีลักษณะผลใหญ่ เนื้อแข็งสะดวกต่อการขนส่ง แต่ยังมีรสชาติเปรี้ยว      สตรอเบอรี่สามารถเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน ธ.ค.ถึง มี.ค.ของทุกปี โดยผลผลิตที่ปลูกในแถบอ.แม่ริม ดอยอินทนนท์และพื้นที่รอบเมืองเชียงใหม่ ส่วนใหญ่จำหน่ายเพื่อรับประทานสดแก่นักท่องเที่ยวและขนส่งเข้าตลาดกรุงเทพฯ เป็นหลัก ผลผลิตจาก อ.สะเมิง และอ.ฝาง ส่งจำหน่ายเป็นผลสดและส่งโรงงานเพื่อแปรรูป พื้นที่ผลิตในจ.เชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่อ.แม่สายผลผลิตส่งเข้ากรุงเทพฯ เพื่อจำหน่ายเป็นผลรับประทานสด 60% ส่งโรงงานเพื่อแปรรูป 20% และจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว 20%

      ด้านการตลาดส่งออกประเทศไทยมีการส่งออกผลสตรอเบอรี่เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมไปยังต่างประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 และสามารถทำรายได้หลายร้อยล้านบาทต่อปี ประเทศหลักที่ส่งไปจำหน่าย ได้แก่ ญี่ปุ่น แต่ในระยะ2-3 ปีที่ผ่านมาลดลง เนื่องจากมีประเทศคู่แข่งคือสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลี จึงถือได้ว่าสตรอเบอรี่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เป็นผลงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลการวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของประเทศชาติ      ทางด้านนายวินัย เหล่าเทิดพงษ์ เกษตร จังหวัดใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า สตรอเบอรี่เป็นไม้ผลเมืองหนาวขนาดเล็ก เจริญเติบโตได้ดีในที่อากาศเย็นตลอดฤดูกาลผลิตประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส      เพื่อให้กระทบกับอากาศเย็นเป็นการกระตุ้นตาดอกแล้วนำต้นพันธุ์ดังกล่าวมาปลูกได้ ปกติสตรอเบอรี่จะปลูกประมาณต้นเดือนตุลาคมของทุกปีเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือน ธ.ค. จนถึงปลายเดือน เม.ย. พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ เบอร์  329 เบอร์ 16 เบอร์ 20 และมีพันธุ์อื่นๆ เช่น เบอร์ 156, 50, 70 และเบอร์ 72
      การผลิตในปี 2547/48 จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ประมาณ 2,261ไร่ โดยปลูกมากใน อ.สะเมิง 2,250 ไร่ และ อ.ฝาง 11 ไร่ ซึ่งพื้นที่ปลูกในปีนี้มากกว่าปีที่แล้ว (ปี 2546/47) ประมาณ 1,177 ไร่ หรือคิดเป็น 108.58% ของพื้นที่ปลูกปีที่แล้ว ซึ่งปีที่แล้วมีพื้นที่ปลูกประมาณ 1,084 ไร่ เหตุที่มีพื้นที่ปลูกมากขึ้นเนื่องจากปี 2546/47 ช่วงระยะที่ต้องเตรียมต้นกล้าประสบปัญหาอากาศแปรปรวน มีฝนตกมาก ทำให้ต้นสตรอเบอรี่เน่า ในปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตรวมประมาณ 8,064 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,567 กิโลกรัม/ไร่ สตรอเบอรี่บริโภคสดมีราคาประมาณ 70-130 บาท/กก. คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 322 ล้านบาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น