วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว


นางสาว พรธิวา เกษาศานต์

รหัสประจำตัว 55224419

การศึกษา:ปัจจุบันศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 
สาขานิเทศศาสตร์ประชาสัมพันธ์

อายุ :20 ปี

ความใฝ่ฝัน : เจ้าของธุรกิจถ่ายภาพ



วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เมนูสุดแนวสำหรับคนที่เลิฟสตรอเบอรี่



วันนี้เรามีเมนูแสนหวานน่าทาน เหมาะกับการทำทานเล่นที่บ้านจะเป็นครอบครัว พ่อ แม่ ลูกๆ หรือคู่รักข้าวใหม่ปลามันก็สามารถทำเป็นกิจกรรมยามว่างได้คะ่้ เมนูที่ว่านั้นก็คือ Chocolate Covered Strawberry Footballs แค่ชื่อก็เก๋แล้วใช่ไหมค่ะ...อย่างที่เราทราบกันดีนะคะว่าเจ้า สตรอเบอรี่นั้นจะมีเฉพาะฤดูหนาวเท่านั้นแล้วตอนนี้ก็เป็นฤดูกาลแห่งสตรอเบอรี่เลยก็ว่าได้ จะเห็นได้ว่าตามตลาด ซูปเปอร์มาเก็ตต่างมีขายกันมากมายหาซื้อไม่ยากราคาสมน้ำสมเนื้อ ดังนั้นเราจึงไม่พลาดที่จะสรรหาเมนูเด็ดที่เกี่ยวกับสตอเบอรี่มาฝากกันคะ่พร้อมแล้วไปดูส่วนผสมกันเลย


ส่วนผสม
- สตรอเบอรี่สดลูกอวบอิ่ม
- ดาร์กช็อคโกแลต (dark chocolate)
- ไวท์ช็อคโกแลต (white chocolate)

ขั้นตอนการทำ
1. ล้างสตรอเบอรี่สดให้สะอาด ผึ่งให้แห้งพักไว้


2. ละลาย ดาร์กช็อคโกแลต และไวท์ช็อคโกแลต พักไว้

3.นำสตรอเบอรี่ที่เราเตรียมไว้แล้วมาชุบลงไปใน ดาร์กช็อคโกแลต พักไว้ให้เจ้าตัว ดาร์กช็อคโกแลต แห้ง

4.นำไวท์ช็อคโกแลตมาใส่กรวยสำหรับบีบ จากนั้นบีบทำลายลงบนสตรอเบอรี่ที่ชุบดาร์กซ็อคโกแลตแล้ว (ใครอยากทำลายอื่นๆ นอกเหนือจากลายฟุตบอลก็ได้นะ




6 เรื่องดี ๆ จากสตรอเบอร์รี่


1.ดูแลสายตา 

          ปัญหาเกี่ยวกับดวงตาส่วนใหญ่จะเกิดจากอนุมูลอิสระ และการขาดสารอาหารบางชนิด และเมื่อเราอายุมากขึ้น ดวงตาของเรายิ่งถูกทำร้ายได้ง่าย ซ้ำร้ายความแก่ชราจะทำให้กล้ามเนื้อดวงตาเสื่อมสภาพ แต่สตรอเบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างวิตามินซี ฟลาโวนอยด์ กรดฟีโนลิก และกรดเอลลาจิก ซึ่งช่วยชะลอกระบวนการดังกล่าว แถมยังมีโพแทสเซียมซึ่งช่วยปรับความดันในตาให้เป็นปกติอีกด้วย


2.ป้องกันโรคข้ออักเสบและโรคเกาต์ 

          เมื่อกล้ามเนื้อถูกใช้งานนาน ๆ เข้า กล้ามเนื้อของเราก็มีแต่จะถดถอยของเหลว บริเวณข้อต่อกระดูก็จะเหือดแห้งลงไปเรื่อย ๆ และร่างกายก็สะสมสารพิษอย่างกรดยูริกเอาไว้มากขึ้น ๆ ทำให้โรคข้ออักเสบและโรคเกาต์ถามหา แต่อย่าห่วงไป เพราะเราสามารถขับไล่โรคทั้งสองได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และสรรพคุณล้างพิษของสตรอเบอร์รี่ค่ะ


3.กำราบโรคมะเร็ง 

          กินสตรอเบอร์รี่ทุกวันสิคะเซลล์มะเร็ง และเนื้องอกต้องชิดซ้ายหลีกทางให้แก่สารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซี โฟเลต และแอนโธไชยานินส์ ที่มีอยู่มากมายในสตรอเบอร์รี่ค่ะ


4.ส่งเสริมการทำงานของสมอง 

          ยิ่งแก่ยิ่งขี้หลงขี้ลืม เพราะเนื้อเยื่อและเส้นประสาทในสมองเสื่อมสภาพจากอนุมูลอิสระตัวร้าย ซึ่งสตรอวเบอร์รี่ช่วยได้ เพราะมีวิตามินซี และไฟโตนิวเทรียนต์ ที่ทำให้อนุมูลอิสระหมดฤทธิ์ และคืนความอ่อนเยาว์ให้แก่ระบบประสาท แถมยังมีไอโอดีนที่ทำให้สมองและระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


5.ลดความดันโลหิต 

          หากโซเดียมเป็นตัวการทำให้เกิดความดันโลหิตสูง สตรอเบอร์รี่ก็มีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่ช่วยปรับความดันให้เป็นปกติค่ะ


6.ปราบโรคหัวใจ 

          ใยอาหาร โฟเลต และสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย แถมวิตามินบีบางชนิดที่พบได้ในสตรอเบอร์รี่ จะเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรงอีกด้วย

การปลูกและการเก็บเกี่ยวสตอเบอร์รี่



การเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว     นอกจากผักผลไม้จะมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีแล้ว ยังมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยอาจมาจากดิน น้ำ หรือปุ๋ย (Brackett, 2000) ชนิดของแบคทีเรียที่มักพบในดินและทำให้เกิดโรค คือ Bacillus, Clostridium และListeria โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียที่สามารถสปอร์ที่ทนต่อความร้อน เช่น Clostridium botulinum และ Clostrtidium perfringens บริเวณพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มักมีจุลินทรีย์     ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ปะปนออกมากับสิ่งขับถ่ายของสัตว์ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในมนุษย์ ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกบำรุงพืชอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนสู่อาหาร เช่น มีการตรวจพบแบคทีเรีย Salmonella typhimuriumและ Escherichia coli O157:H7 ที่ใบและรากของผักที่ปลูกโดยการใช้ปุ๋ยคอก (Natving และคณะ , 2002) นอกจากนี้ยังพบว่า Salmonella, Escherichia coli O157:H7 และ Listeria monocytogenes สามารถรอดชีวิตอยู่ในปุ๋ยคอกได้เป็นระยะเวลานาน (Tauxe, 1997; Brackett, 1999)ผักผลไม้ต่างชนิดกันจะมีจำนวนและชนิดจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนต่างกันจำนวนจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนเริ่มต้นจะบ่งถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้ายโดยหากมีจุลินทรีย์เริ่มต้นปนเปื้อนในวัตถุดิบมาก จะทำให้ผักผลไม้มีคุณภาพที่ด้อยลงและมีอายุการเก็บที่สั้นกว่าปกติ (Zagory, 1999) พืชหัวซึ่งมีลำต้นและรากใต้ดิน หรือพืชผักขนาดเล็กที่มีลำต้นเตี้ยและใบอยู่ใกล้พื้นดิน มักพบการปนเปื้อนค่อนข้างสูง อัตราการปนเปื้อนจะสูงขึ้นในฤดูฝนเนื่องจากเมื่อฝนตกเศษดินอาจกระเด็นมาติดตามใบและลำต้นพืชนอกจากนี้การที่เซลล์พืชถูกทำลายจากแมลงหรือนก ทำให้จุลินทรีย์เข้าทำลายเซลล์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ผักและผลไม้เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่มีการเสื่อมเสียได้ง่าย การผลิตในระดับอุตสาหกรรมจึงต้องมีการควบคุมที่ดีโดยเริ่มตั้งแต่แหล่งเพาะปลูก ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำ GAP (Good Agricultural Practice มาใช้ด้วย ) จนกระทั่งผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีความต้องการในการบริโภคผักและผลไม้สดพร้อมบริโภคสูงขึ้น เช่น ผักสลัด ผลไม้บรรจุถาดพร้อมรับประทาน ดังนั้น กระบวนการผลิตจึงผ่านวิธีการที่ทำให้มั่นใจว่าผักและผลไม้นั้น สะอาดและปลอดภัยต่อการบริโภคจากรายงานการเกิดการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากการบริโภคผักผลไม้ พบว่ามีสาเหตุมาจากผักเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักสลัด ซึ่งมักเป็นผักสดที่ต้องผ่านการจับต้องจากผู้ประกอบอาหาร ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยเป็นอย่างยิ่ง แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอาหารเป็นพิษและมักพบว่าปนเปื้อนมากับผักผลไม้พร้อมบริโภค คือEscherichia coli O 157 : H7, Listeria monocytogenes, Shigella, Salmonella และไวรัสตับอักเสบเอ (Singh และ คณะ 2002) บทความนี้จะกล่าวถึงสาเหตุของการปนเปื้อนในผักและผลไม้ตั้งแต่เพาะปลูกจนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการผลิต 
สรุป     การควบคุมการผลิตที่ดีที่สุด คือ การควบคุมกระบวนการเพาะปลูก และการป้องกันพืชจากแหล่งที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน และการเริ่มต้นทันทีเมื่อวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต กระบวนการผลิตขั้นต้นที่ดีจึงขึ้นกับวิธีการทำความสะอาดวัตถุดิบที่เหมาะสม เพื่อลดการปนเปื้อนที่ผิวให้ได้มากที่สุด ซึ่งขั้นตอนนี้รวมถึง การตรวจสอบวัตถุดิบ การคัดเลือกเอาส่วนเสียออก จนกระทั่งการเปลี่ยนถ่ายภาชนะบรรจุวัตถุดิบเพื่อการขนส่ง ลงสู่ภาชนะบรรจุที่สะอาด นอกจากนี้ยังต้องควบคุมในเรื่องของความสะอาดและการปฏิบัติในระหว่างกระบวนการผลิต การขนส่ง รวมไปถึงร้านค้าที่จำหน่าย 

สตอเบอรี่มีทั้งหมดกี่พันธุ์และมีลักษณะอย่างไร


ในด้านพันธุ์ต่างๆ ของสตรอเบอรี่ที่มีปลูกกันในประเทศไทย ดร.ณรงค์ชัย เปิดเผยว่า ได้มีการนำพันธุ์สตรอเบอรี่จากต่างประเทศที่นำเข้ามาทดลองปลูกจากปี พ.ศ.2515 ปรากฏว่าพันธุ์พระราชทาน 13 (Cambridge Favorite) พันธุ์พระราชทาน 16 (Tioga) พันธุ์พระราชทาน 20 (Sequoia) สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายได้มากกว่าพันธุ์อื่นๆ โดยเฉพาะพันธุ์พระราชทาน 16 สามารถปรับตัวได้ดีทั้งพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูงระดับ 1,200 เมตร และพื้นที่ราบของทั้ง 2 จังหวัด เกษตรกรขณะนี้เกือบทั้งหมดใช้พันธุ์นี้ปลูกเป็นการค้ากันทั่วไป ต่อมา ปี 2529 ได้มีการนำพันธุ์ Nyoho Toyonoka และ Aibrry 
      จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาทดลองปลูก จนกระทั่งมีพันธุ์ Toyonoka หรือพันธุ์พระราชทาน 70 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2540 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา และพันธุ์ B 5 หรือพันธุ์พระราชทาน 50 (พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นปีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี) และพันธุ์พระราชทาน Tochiotome หรือ 72 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2542 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา ปัจจุบันพันธุ์สตรอเบอรี่ที่นับว่าปลูก เป็นการค้าส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ พันธุ์พระราชทาน 16, 50, 70 และ 72 นอกจากนี้ ยังมีสายพันธุ์อื่นบ้างในบางพื้นที่โดยผู้นำเข้ามาจากต่างประเทศ และไม่ได้ถือว่าเป็นพันธุ์พระราชทานแต่อย่างใด
      ม.จ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงเล่าประทานเพิ่มเติมว่าโครงการหลวงเริ่มทดลองหาพันธุ์สตรอเบอรี่ที่ปลอดโรคเพื่อส่งเสริมเกษตรกร โดยผลิตต้นแม่พันธุ์และต้นไหลปลอดโรคด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องทดลองทุกปีมีการคัดและผสมพันธุ์จนได้พันธุ์พระราชทานเบอร์ต่างๆ สำหรับแหล่งผลิตสตรอเบอรี่แหล่งใหญ่ที่บ้านบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มแรกเกษตรกรใช้พันธุ์ที่ผลิตต้นไหลเอง จึงไม่ปลอดโรคเกิดปัญหาเน่าตาย ผลผลิตตกต่ำ เกษตรกรจึงขอให้โครงการหลวงเข้าไปช่วยเหลือ และได้เริ่มใช้ต้นไหลปลอดโรคที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมทั้งจำหน่ายผลผลิตผ่านโครงการหลวง
      ปัจจุบันผู้ปลูกสตรอเบอรี่บนดอยสูงระดับ 1,000 เมตร อย่างเกษตรกร ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ส่วนหนึ่งได้หันมาใช้พันธุ์ปลอดโรคของโครงการหลวงที่เป็นพันธุ์ทางการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์พระราชทาน 50 และ 72 ซึ่งเป็นที่ยอมรับของตลาดในปัจจุบันทั้งเรื่องรสชาติ ขนาด และรูปทรง แต่บางส่วนยังคงใช้พันธุ์อื่นๆ รวมทั้งพันธุ์ 329 ซึ่งทางกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำไปส่งเสริม ซึ่งมีลักษณะผลใหญ่ เนื้อแข็งสะดวกต่อการขนส่ง แต่ยังมีรสชาติเปรี้ยว      สตรอเบอรี่สามารถเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน ธ.ค.ถึง มี.ค.ของทุกปี โดยผลผลิตที่ปลูกในแถบอ.แม่ริม ดอยอินทนนท์และพื้นที่รอบเมืองเชียงใหม่ ส่วนใหญ่จำหน่ายเพื่อรับประทานสดแก่นักท่องเที่ยวและขนส่งเข้าตลาดกรุงเทพฯ เป็นหลัก ผลผลิตจาก อ.สะเมิง และอ.ฝาง ส่งจำหน่ายเป็นผลสดและส่งโรงงานเพื่อแปรรูป พื้นที่ผลิตในจ.เชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่อ.แม่สายผลผลิตส่งเข้ากรุงเทพฯ เพื่อจำหน่ายเป็นผลรับประทานสด 60% ส่งโรงงานเพื่อแปรรูป 20% และจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว 20%

      ด้านการตลาดส่งออกประเทศไทยมีการส่งออกผลสตรอเบอรี่เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมไปยังต่างประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 และสามารถทำรายได้หลายร้อยล้านบาทต่อปี ประเทศหลักที่ส่งไปจำหน่าย ได้แก่ ญี่ปุ่น แต่ในระยะ2-3 ปีที่ผ่านมาลดลง เนื่องจากมีประเทศคู่แข่งคือสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลี จึงถือได้ว่าสตรอเบอรี่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เป็นผลงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลการวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของประเทศชาติ      ทางด้านนายวินัย เหล่าเทิดพงษ์ เกษตร จังหวัดใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า สตรอเบอรี่เป็นไม้ผลเมืองหนาวขนาดเล็ก เจริญเติบโตได้ดีในที่อากาศเย็นตลอดฤดูกาลผลิตประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส      เพื่อให้กระทบกับอากาศเย็นเป็นการกระตุ้นตาดอกแล้วนำต้นพันธุ์ดังกล่าวมาปลูกได้ ปกติสตรอเบอรี่จะปลูกประมาณต้นเดือนตุลาคมของทุกปีเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือน ธ.ค. จนถึงปลายเดือน เม.ย. พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ เบอร์  329 เบอร์ 16 เบอร์ 20 และมีพันธุ์อื่นๆ เช่น เบอร์ 156, 50, 70 และเบอร์ 72
      การผลิตในปี 2547/48 จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ประมาณ 2,261ไร่ โดยปลูกมากใน อ.สะเมิง 2,250 ไร่ และ อ.ฝาง 11 ไร่ ซึ่งพื้นที่ปลูกในปีนี้มากกว่าปีที่แล้ว (ปี 2546/47) ประมาณ 1,177 ไร่ หรือคิดเป็น 108.58% ของพื้นที่ปลูกปีที่แล้ว ซึ่งปีที่แล้วมีพื้นที่ปลูกประมาณ 1,084 ไร่ เหตุที่มีพื้นที่ปลูกมากขึ้นเนื่องจากปี 2546/47 ช่วงระยะที่ต้องเตรียมต้นกล้าประสบปัญหาอากาศแปรปรวน มีฝนตกมาก ทำให้ต้นสตรอเบอรี่เน่า ในปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตรวมประมาณ 8,064 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,567 กิโลกรัม/ไร่ สตรอเบอรี่บริโภคสดมีราคาประมาณ 70-130 บาท/กก. คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 322 ล้านบาท